แชร์ไอเดียสร้างโรงเรือน ไม่ร้อน ไม่อบ ในงบจำกัด 2 หมื่นมีทอน

October 14, 2021
1.1K views
11 mins read

โรงเรือนต้นไม้ – นี่เป็นโรงเรือนที่ 2 สำหรับคุณผึ้งแล้ว หลังจากที่ลองใช้โรงเรือนสำเร็จรูปที่เคยรีวิวไว้ไปเพียง 2 เดือนต้นไม้ก็โตจนล้น ครั้งนี้คุณผึ้งเลยตัดสินใจ หาช่าง และ สังเกตสิ่งแวดลอมในตำแหน่งที่ต้องตั้งโรงเรือน ตามเรามา 6 August Planting จะมาแชร์ไอเดียการสร้างโรงเรือนขนาด 3 x 2.2 x 3 (กว้าง x ยาว x สูง)

[icon type=”fa-pagelines” color=”#999999″ size=”16px” style=”circle_thin” link=”” new_window=”true” ] ไอเดียแบ่งปันดังนี้


  1. ไอเดียประหยัด
  2. ไอเดียลดร้อน ลดอบ ที่ทดลองแล้วใช้ได้ผล
  3. ส่องการทำงานของช่าง 
โรงเรือน

 

[icon type=”fa-pagelines” color=”#999999″ size=”16px” style=”circle_thin” link=”” new_window=”true” ] ไอเดียประหยัด


ก่อนจะสร้าง แนะนำให้ดูสภาพแวดล้อม หรือ พื้นที่ๆเราจะสร้างก่อน เช่น ทิศทางของแสงแดด เพราะอย่างบ้านเราจะมีด้านนึงที่แสงแทบไม่เข้าเลย เพราะมีอีกตึกบังอยู่ จุดนี้เองเราอาจจะประหยัดสแลนไปได้อีกด้าน

ไอเดียประหยัดเหล็ก เหมาะสำหรับใครหลายคนที่สร้างโรงเรือนข้างบ้าน เพราะข้างบ้านแต่ละคนย่อมมีกำแพงอยู่แล้ว จากเดิมเราต้องซื้อเหล็กทั้งเสา ก็เปลี่ยนเป็นเหล็กครึ่งเสา แล้วนำไปวางบนกำแพงอีกที

ไอเดียประหยัด Facility บางอย่างเช่น ประตู จากเดิมต้องทำด้วยเหล็กฉีก เราก็ใช้ม่านแม่เหล็กเอา (แนะนำตามลิงค์ใช้ดี มีตีนตุ๊กแก และ แม่เหล็กข้างล่าง) เพราะว่าโรงเรือนเราตั้งในบ้าน ไม่ต้องกังวลหรือต้องล็อคประตูกันขโมย จุดนี้ประหยัดไปได้ 3-5 พันบาทเลย ที่สำคัญประตูระบายอากาศได้ดีด้วย

เมื่อดูทั้งหมดแล้ว แนะนำให้ลอง Google และ ดูราคาคร่าวๆใน Shopee หรือ Lazada ประกอบ เราจะได้งบคร่าวๆ จากนั้นเราก็ตามหาช่างในกลุ่ม กลุ่มคนสร้างโรงเรือน GREENHOUSE (พูดคุย-ซื้อ-ขาย) โดยในกลุ่มนี้จะมีไอเดียต่างๆ โดยช่างที่เราได้มาคือช่างเบส (Facebook)

่ส่วนระบบไฟในโรงเรือน ที่บ้านทำกันเอง เนื่องจากคุณพ่อที่บ้านทำได้ค่ะ เสียแต่ค่าวัสดุอุปกรณ์ ตรงนี้สำหรับบ้านไหนเดินเองได้ก็แนะนำ หรือ จ้างช่างทำโรงเรือนก็ได้ค่ะ

 

[icon type=”fa-pagelines” color=”#999999″ size=”16px” style=”circle_thin” link=”” new_window=”true” ] ไอเดียลดร้อน ลดอบ ที่ทดลองแล้วใช้ได้ผล


เรื่องความร้อน เรามีตัวช่วย 4 อย่างที่ใช้คือ
1. พัดลมระบายอากาศ (ลิงค์นี้)
2. ม่านแม่เหล็ก (ลิงค์นี้)
3. พัดลมตั้งพื้น (ลิงค์นี้)
4. สปริงเกอร์ (ลิงค์นี้)

ที่บ้านคุณผึ้งแดดจะแรงช่วง 10:00 – 12:00 จะเป็นช่วงเวลาที่แดดแผดเผาร้อนจัด แล้วโดยปกติความร้อนจะลอยขึ้นที่สูง ทำให้ช่วงเวลานั้นเราจะเปิดพัดลมระบายอากาศเพื่อดึงความร้อนออกจากโรงเรือน จากนั้นจะเปิดสปริงเกอร์บนหลังคาเพื่อลดความร้อนบนหลังคา สุดท้ายเปิดพัดลมให้อากาศมัน flow ผ่านผ้าม่านแม่เหล็ก แต่โดยรวมต้องดูหน้าร้อนอีกที

 

[icon type=”fa-pagelines” color=”#999999″ size=”16px” style=”circle_thin” link=”” new_window=”true” ] ส่องการทำงานของช่าง


เมื่อได้ช่างแล้ว เราก็นัดวันพร้อมมัดจำให้ช่างล่วงหน้า 2 อาทิตย์ เพื่อช่างจะเตรียมเหล็กเตรียมอะไรให้เรียบร้อย ทั้งนี้เราสั่งชั้นวางต้นไม้ช่างมาพิเศษด้วย เพราะอยากให้เขาตัดได้ขนาดเป๊ะกับพื้นที่เรา (ราคาที่เห็นไม่รวมชั้นวางต้นไม้) พอช่างมาก็ต่อ เชื่อมเหล็ก โดยช่างมาทั้งสิ้น 6 คน งานเลยค่อนข้างเร็ววันเดียวเสร็จ

เมื่อขึ้นโครงเสร็จ ถึงเวลาติดหลังคาโดยใช้แผ่นโพลี่คาร์บอเนตขุ่น กรองแสง 50% จุดนี้ช่างเลือกให้ เข้าใจว่าน่าจะเป็นประสบการณ์เพราะหลายคนแนะนำจะช่วยลดความร้อนได้ดี แต่ถ้าแสงน้อยก็เปิดไฟต้นไม้เอา

จากนั้นช่างก็แบกเหล็กที่ใช้ทำชั้นวางต้นไม้ เข้ามาต่อในโรงเรือน และติดมุ้ง 32 ตาตามมาตรฐานกันแมลงได้แทบทุกชนิด ยกเว้ยเพลี้ยไฟที่ต้องใช้มุ้ง 40 ตา แต่ที่บ้านเราไม่ค่อยมีเพลี้ยไฟ อีกอย่างกลัวอบเลยใช้แค่ 32 แล้วคลุมด้วยสแลนสีเงิน ซึ่งด้านนั้นเป็นด้านที่เป็นข้างในบ้าน

หลังจากข้างใน และ อีกด้านเรียบร้อย ช่างก็คลุมมุ้งอีกด้าน โดยด้านนี้เป็นด้านหน้าบ้านเรา เลยเลือกสแลนสีขาวซึ่งกรองแสงได้เพียง 25% เลยเลือกที่จะกางทับกัน 2 ชั้นแต่เอาเข้าจริงก็ยังกรองแสงแรงๆได้น้อยอยู่ดี เราเลยทำราวม่านไว้เผื่อกางม่านสแลน และ ม่านพลาสติกกันน้ำด้วย

จุดสุดท้าย ช่างติดตั้งประตูให้ เช่นเคยเป็นประตูม่านแม่เหล็ก ที่เดินผ่านแล้วมันจะปิดเองอัตโนมิตเป็นอันเสร็จพิธี ส่วนที่เหลือสปริงเกอร์ เราติดเองปีนขึ้นไปติดข้างบนหลังคา ลดความร้อนได้ดีมาก

Khun Peung (6 August Journey)

6 August Journey เป็นผู้หญิงสาย IT ที่ชอบท่องเที่ยว และ ชอบการ Staycation เป็นชีวิตจิตใจ รวมทั้งยังชอบลิ้มลอง Hotel Dining + Omakase โดยเน้นให้ข้อมูลที่ละเอียดสำหรับทุกคนไปตามรอยได้